วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ตอนที่ 1 การอ่านเพื่อพัฒนาความคิด



                        ตอนที่ 1    การอ่านเพื่อพัฒนาความคิด
         การอ่านวรรณกรรมต่างๆที่เป็นบันเทิงคดีและสารคดีให้สามารถพัฒนาความคิดได้นั้น มิใช่เพื่อให้ทราบเรื่องแต่อย่างเดียว    ควรนำข้อมูลต่างๆที่ทราบจากเรื่องที่อ่านไปพิจารณาให้ละเอียด   ลึกซึ้งว่าเป็นอย่างไร   สามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไร เป็นต้น  จึงจะ นับว่าเป็นการอ่านที่นำไปสู่ความก้าวหน้าในชีวิต   คือ ความเป็นพหูสูตและนักปราชญ์ได้ วิธีปฏิบัติตนในการอ่านเพื่อพัฒนาความคิด  ประกอบด้วย  การคิดวิเคราะห์  การสังเคราะห์ การประเมินค่า และการคิดแก้ปัญหา





การอ่านเพื่อพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์
  การคิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ออกเป็นส่วนๆ  
เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง แล้ว
ทำความเข้าใจต่อไปว่าแต่ละส่วน
สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร  
   การจะคิดวิเคราะห์เรื่องใดนั้นจำเป็น
ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริงหรือข้อมูลทางทฤษฎีมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

จึงจะสามารถอธิบายได้ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆเหล่านั้น
อยู่ในสภาพใดหรือมีแนวโน้มไปในทางใด

  ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงวิเคราะห์   มีดังนี้
1.  กำหนดขอบเขตหือนิยามสิ่งที่จะวิเคราะห์ว่า  จะวิเคราะห์อะไร
2.  กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่า   จะวิเคราะห์เพื่ออะไร
3.  ดำเนินการวิเคราะห์ด้วยหลักกาต่างๆที่เหมาะสมและถูกต้อง
4.  สรุปผลและรายงานการวิเคราะห์ ด้วยการเขียนรายงานผลการวิเคราะห์
     ให้เป็นระเบียบ




  การอ่านเพื่อพัฒนาการคิดสังเคราะห์
           วิธีคิดเชิงสังเคราะห์  หมายถึง  การรวมส่วนต่างๆให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม   จนเกิด เป็นสิ่งใหม่ขึ้น สำหรับจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป  การสังเคราะห์ต้องการหลักความรู้หรือทฤษฎีในการรวมส่วนต่างๆเช่นเดียวกับการวิเคราะห์

        
                ขั้นตอนของการคิดสังเคราะห์    มีดังนี้

1.  กำหนดจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจน
2.  หาความรู้เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ (รวบรวมข้อมูลทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ)
3.  ทำความเข้าใจส่วนต่างๆที่จะนำมาสังเคราะห์
4.  ใช้หลักความรู้ให้เหมาะสม
5.  ทบทวนดูว่า ผลของการสังเคราะห์สอดคล้องกับความมุ่งหมายและขอบเขตที่กำหนดหรือไม่
 



     วิธีคิดเชิงประเมินค่า
                      
       วิธีคิดเชิงประเมินค่า  หมายถึง  การใช้ดุลพินิจตัดสิน
คุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่า
ดีหรือเลว   มีคุณหรือโทษอย่างไร
มากน้อยแค่ไหน ก่อนที่จะมีการประเมินค่าได้ 
 เราจำเป็นต้อง
มีเกณฑ์เป็นเครื่องตัดสินก่อน



      แนวปฏิบัติของวิธีคิดเชิงประเมินค่า  มีดังนี้
      1.   ทำความเข้าใจหรือทำความรู้จักกับสิ่งที่เราจะประเมิน
        ให้ดีเสียก่อน

      2.   พิจารณาถึงเกณฑ์ที่จะตัดสิน
      3.   อาจประเมินโดยไม่ต้องใช้เกณฑ์ก็ได้
     แต่ใช้วิธีเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น



                           การคิดเพื่อแก้ปัญหา

      การที่มนุษย์รู้จักคิดเพื่อแก้ปัญหา  จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดี 

หลักสำคัญที่ใช้ในการคิดเพื่อแก้ปัญหา
     มีดังนี้                                                                                    1. ต้องเข้าใจประเภทของปัญหา                                                                                                           2. ต้องเข้าใจสาเหตุและสภาพแวดล้อมของปัญหา
 3. ต้องเข้าใจเป้าหมายในการแก้ปัญหา                                                                                                    
4. ต้องเลือกวิถีทางแก้ปัญหา

       ประเภทของปัญหา    ปัญหาแบ่งออกเป็น  ประเภท  ดังนี้       1.  ปัญหาเฉพาะบุคคล  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะคนใดคนหนึ่ง แต่อาจเชื่อมโยงไปถึงบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นได้ 2.   ปัญหาเฉพาะกลุ่ม  เป็นปัญหาของกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ต้องประสบความยุ่งยากร่วมกัน 3.  ปัญหาสาธารณะ  เป็นปัญหาที่มีผลกระทบถึงคนทุกคน  ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม อาจเรียกว่าปัญหา     สังคมก็ได้

       สาเหตุและสภาพแวดล้อมของปัญหา
                       เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาประเภทใดก็ตาม  การที่เราจะแก้ปัญหานั้นๆได้  เราต้องทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานั้น  นอกจากนี้   เรายังต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของปัญหานั้นๆอีกด้วย  เพราะ ปัญหาเดียวกัน  ถ้าเกิดในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน   สภาพความรุนแรงของปัญหาก็จะต่างกันด้วย  การที่ทราบสาเหตุและสภาพแวดล้อมของปัญหาจึงเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหา


       เป้าหมายในการแก้ปัญหา

               การแก้ปัญหาของมนุษย์ทุกคน  มีเป้าหมายอยู่ที่การทำให้ปัญหานั้นหมดไป  หรือการปลอดพ้นอย่างถาวรจากภาพที่ไม่พึงประสงค์

       การเลือกวิถีทางแก้ปัญหา   ตามปกติแล้วการแก้ปัญหาของคนเรานั้นมีมากมายหลายวิธี  การจะเลือกวิธีที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา  ก็พิจารณาจากวิถีทางที่มีอุปสรรคน้อยที่สุด หรือไม่มีอุปสรรคเลย  หรืออยู่ที่วิสัยที่จะปฏิบัติได้  และมั่นใจว่าเป็นวิถีทางที่จะแก้ปัญหาได้



 หลักสำคัญในการคิดเมื่อมีปัญหา    มีดังนี้
       1.   ทำความเข้าใจลักษณะของปัญหาและวางขอบเขตของปัญหา
       2.   พิจารณาสาเหตุของปัญหา
       3.   วางเป้าหมายในการแก้ปัญหา
       4.   คิดหาวิถีทางต่างๆในการแก้ปัญหาเท่าที่จะเป็นไปได้
       5.   เลือกวิถีทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น