วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

การแนะนำหนังสือ


 การแนะนำหนังสือ หรือ  การปฏิทัศน์  

 การแนะนำหนังสือ หรือการปฏิทัศน์หนังสือ    เป็นการแนะนำที่ง่ายและสะดวกต่อผู้ที่จะเลือกอ่านเป็นอย่างยิ่ง 

           ๑.   ชื่อเรื่อง 
           ๒.  ชื่อผู้แต่ง       จะบอกนามปากกาหรือนามจริงก็ได้ โดยอาจเพิ่มเติมประวัติเข้าไป
เพื่อเพิ่มความละเอียดก็ได้
 

           ๓.   สำนักพิมพ์   สำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์ ควรระวัง อย่าใส่โรงพิมพ์เข้าไปแทน
เพราะอาจทำให้
   สับสนได้ 

           ๔.   ปีที่พิมพ์       บอก ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ อาจอยู่ด้านในปกหรือท้ายเล่ม 
           ๕.   ขนาดหนังสือและจำนวนหน้า     บอกจำนวนหน้ายกและหน้าทั้งหมด 
           ๖.    ราคา 
           ๗.   ประเภทของหนังสือ 
           
๘.   เนื้อหาหนังสือ    ทำให้ทราบขอบเขตเนื้อหาโดยสังเขป 
           ๙.   ความเหมาะสมของผู้อ่าน    เช่น    เหมาะกับนักเรียน  คุณครู หรือผู้สูงวัย เป็นต้น

            


             

    
ตัวอย่างการแนะนำหนังสือ 

        ชื่อหนังสือ                 สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า ดินแดนอาถรรพณ์       ชื่อผู้แต่ง       ภิรมย์ พุทธรัตน์ 
        สำนักพิมพ์                สุขภาพใจ                                                         ปีที่พิมพ์       พ.ศ. ๒๕๔๑
        จำนวนหน้า               ๑๘๔  หน้า                                                       ราคา              ๑๐๐    บาท
        ประเภทของหนังสือ  สารคดี
        เนื้อหาโดยย่อ 
                       เรื่องจริงอันลึกลับมหัศจรรย์ ที่สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วโลก 
 เมื่อเรือและเครื่องบินนับร้อยพร้อมผู้โดยสารหายสาบสูญไร้ร่องรอย
 ในหนังสือได้กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับเครื่องบิน รวมทั้งเรือเดินสมุทร
ไม่ว่าจะเป็นของกองทัพหรือพร้อมผู้โดยสารที่หายไปอย่างไม่มีสาเหตุ   
รวมทั้งได้กล่าวถึงจานบินลึกลับ หรือ UFO  ซึ่งปรากฏอยู่ในเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย 
และในเล่ม ผู้แต่งยังได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์นั้นๆด้วย
  
ความเหมาะสมสำหรับผู้อ่าน

                       ผู้อ่านควรจะมีวิจารณญาณในการอ่าน หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับ

ผู้อ่านทั่วไป และผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ

ผู้แนะนำหนังสือ    พิมพ์สรร  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต



ตัวอย่าง ที่ 2     เรื่องระเด่นลันได
         







ทำนองแต่ง                   -   ใช้กลอนบทละคร
ลักษณะคำประพันธ์     -   ประเภทกลอนบทละครผู้แต่ง                            -   พระมหามนตรี (ทรัพย์)ผู้แต่ง                            -   พระมหามนตรี (ทรัพย์) จัดพิมพ์                        -   Wisdom จัดพิมพ์ครั้งที่               -   2 /2553 จำนวนหน้า                  56            หน้า จัดจำหน่าย                   -  บริษัทบุ๊ค พอยท์ จำกัด

ได้รับการยกย่องว่า    เป็นวรรณคดีล้อเลียนเล่มแรกของไทย  ที่เป็นเลิศในด้านสำนวนและฝีปากการประพันธ์               เพราะมีเอกลักษณ์ในการประพันธ์ที่ยากจะหาวรรณคดีล้อเลียนเรื่องใดมา เปรียบ มีเนื้อเรื่องง่ายๆ ไม่ซับซ้อน 

เรื่องย่อ    ชู้รักของระเด่นลันได คิดถึงระเด่นลันได จึงมาหาเช่นเคย   พอพบนางประแดะเข้าจึงเกิดหึงหวงกัน
จบตอนที่เป็นคำกลอนแค่นี้   ต่อจากนั้นเป็นร้อยแก้ว    ดำเนินเรื่องว่า นางกระแอเข้าไปในเรือนเกิดโต้เถียงตบตี
กับนางประแดะ นางประแดะสู้ไม่ได้ลงเรือนหนีไป      ระเด่นลันไดกับนางกระแอปรับความเข้าใจกันได้
ต้นฉบับของพระมหามนตรีหมดเพียงเท่านี้
 

ข้อคิดเห็น       ระเด่นลันได มีอาชีพขอทานอยู่แถบหน้าโบสถ์พราหมณ์ วันหนึ่งมาขอทานถึงที่อยู่ของท้าวประดู่
เผอิญท้าวประดู่ต้อนวัวไปเลี้ยง เหลือแต่นางประแดะภรรยา   ระเด่นลันไดเห็นนางเข้าก็นึกรัก สีซอเป็นเพลงเกี้ยว
นางก็เกิดความรักขึ้นเช่นกัน นำข้าวกล้องและปลาสลิดลงมาให้ ระเด่นลันไดถามชื่อและฐานะของนาง ถึงแม้นาง
จะบอกว่ามีสามีแล้ว  ระเด่นลันไดก็ไม่งดเว้น ตรงเข้าจับมือถือแขนและกลับนัดแนะว่า ตอนดึกจะลอดร่องขึ้นไปหา
นางประแดะพูดออกตัวว่า ท้าวประดู่เป็นคนหึงหวง  ขอให้ระเด่นลันไดรีบไปเสีย พร้อมกับสะบัดมือหนี
ระเด่นลันไดเห็นท่าไม่ได้การจึงจากไป  วันนั้น ท้าวประดู่ประสบลางร้ายหลายอย่างไม่สบายใจ  รีบต้อนวัว
กลับบ้านเร็วกว่าปกติ  ครั้นเห็นข้าวกล้องและปลาสลิดหายไป ก็ซักไซ้ไล่เรียงนางประแดะ นางเห็นว่าจะ
ปิดความไว้ไม่มิด  จึงบอกความจริงว่า ให้ทานแก่โอรสกษัตริย์องค์หนึ่ง  ท้าวประดู่รู้ทันทีว่า ขอทานผู้นั้น
ต้องได้แก่ ระเด่นลันได เกิดเดือดดาลหึงหวงขึ้นทันที ทุบตีขับไล่นางประแดะออกจากบ้านไป  โดยมิพักฟัง
คำสารภาพผิดของนาง  กล่าวฝ่ายระเด่นลันได พอถึงยามปลอดก็ลอดร่องขึ้นไปหานางประแดะ  ไม่ทันได้
พิจารณาก็ตรงเข้ากอดรัดท้าวประดู่ ด้วยความเข้าใจผิดคิดเป็นนาง  พอรู้ผิดตัวก็รีบหนี  เผอิญไปพบ
นางประแดะเข้ากลางทางเลยรับไปไว้บ้าน ได้นางเป็นภรรยา   กล่าวถึงนางกระแอ ชาวทวาย อาชีพขายขนม
                  บทละครเรื่องนี้เป็นบทล้อสังคมเรื่องแรกในวรรณคดีไทย อาจล้อเพียงเรื่องแขก ซึ่งเมียมีชู้  หรือล้อ
เรื่องอิเหนา ซึ่งเชิดชูอิเหนา กษัตริย์เจ้าชู้ไว้มากเกินไป หรือล้อทั้งสองเรื่องก็เป็นได้  พระมหามนตรีเขียนเรื่องนี้
ได้ดีถึงขนาด แทรกบทขบขันไว้ลึกซึ้งแนบเนียนมาก กระบวนกลอนเกลี้ยงเกลาไพเราะหู น่าอ่านน่าฟังตลอดเรื่อง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น