การใช้ภาษาอธิบาย
บรรยายและพรรณนา
การอธิบาย
ความหมาย หมายถึง
การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจในความจริง ความสัมพันธ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ
วิธีการอธิบาย มีหลายวิธี ดังนี้
1. ชี้แจงตามลำดับขั้น เป็นการอธิบายกิจกรรม การปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เป็นกระบวนการหรือกรรมวิธี
2. ใช้ตัวอย่าง เป็นการอธิบายหลักการ วิธีการ
ข้อความรู้ที่เข้าใจยาก โดยใช้ตัวอย่างช่วยในการอธิบาย
3.
เปรียบเทียบความเหมือนกันและแตกต่างกัน
เป็นการอธิบายสิ่งแปลกใหม่ที่ผู้ฟังยังไม่คุ้นเคยมาก่อน
แล้วหาสิ่งที่ผู้ฟังคุ้นเคยมาเปรียบ
4.
ชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน
บางเรื่องที่อธิบายอาจเป็น เรื่องที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์
ก็ต้องอธิบายกันว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผลลัพธ์
5.
ให้นิยาม เป็นการอธิบายความหมายของคำ / คำศัพท์ ที่มักใช้ถ้อยคำสั้นๆ ทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านไม่เข้าใจ จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มให้เข้าใจยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการอธิบาย ด้วยวิธีชี้แจงลำดับขั้น
“การกราบ
ใช้ในโอกาสที่แสดงความเคารพอย่างสูงต่อผู้มีอาวุโส
ส่วนมากขณะนั่งกับพื้น การปฏิบัติมีดังนี้
1. คุกเข่าลงทั้งสองข้าง
2. นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า
3. ก้มตัวลงหมอบให้แขนทั้งสองข้างอยู่ข้างเข่าที่ยื่นออกมา
4. พนมมือให้อยู่ในระดับพื้น
5. ก้มศีรษะลงจรดนิ้วหัวแม่มือ”
ส่วนมากขณะนั่งกับพื้น การปฏิบัติมีดังนี้
1. คุกเข่าลงทั้งสองข้าง
2. นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า
3. ก้มตัวลงหมอบให้แขนทั้งสองข้างอยู่ข้างเข่าที่ยื่นออกมา
4. พนมมือให้อยู่ในระดับพื้น
5. ก้มศีรษะลงจรดนิ้วหัวแม่มือ”
มรรยาทไทย ของ
ผอบ โปษกฤษณะ
ตัวอย่างการอธิบาย ด้วยวิธีใช้ตัวอย่าง
การค้นพบบางอย่างในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
และจิตวิทยาของตะวันตก
ได้ให้หลักฐานสอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนาว่าด้วยชีวิตในชาติปางก่อน
ตัวอย่าง ผู้หญิงถูกสะกดจิตรายหนึ่งได้เล่าย้อนความทรงจำของเธอไปหลายร้อยปีกว่า เธอเคยเป็นแม่บ้านอยู่ในฝรั่งเศสมาก่อน นักประวัติศาสตร์ต่างยอมรับความถูกต้องของสถานที่ ภาษา และวิถีชีวิตของคนสมัยนั้นที่เธอได้เล่าให้ฟังตอนนั้น และอีกหลายรายที่มีประวัติของการย้อนระลึกถึงชาติปางก่อน
ซึ่งได้ตีพิมพ์ในนิตยสารจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ที่มีชื่อเสียง”
ตัวอย่าง ผู้หญิงถูกสะกดจิตรายหนึ่งได้เล่าย้อนความทรงจำของเธอไปหลายร้อยปีกว่า เธอเคยเป็นแม่บ้านอยู่ในฝรั่งเศสมาก่อน นักประวัติศาสตร์ต่างยอมรับความถูกต้องของสถานที่ ภาษา และวิถีชีวิตของคนสมัยนั้นที่เธอได้เล่าให้ฟังตอนนั้น และอีกหลายรายที่มีประวัติของการย้อนระลึกถึงชาติปางก่อน
ซึ่งได้ตีพิมพ์ในนิตยสารจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ที่มีชื่อเสียง”
หนังสือธรรมะ ฉบับ “แก้ทุกข์ใจ” ชุดที่ ๑ ของ เชวง เดชะไกศยะ
ตัวอย่างการอธิบายด้วยวิธีเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างกัน
รามเกียรติ์ รัชกาลที่ 1 มีความมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งกระจัดพลัดพรายอยู่นั้น ให้คุมกันเข้าเป็นเรื่องละเอียดลออ
ทุกแง่ทุกมุม แม้จะแต่งเป็นกลอนบทละคร แต่ก็มิได้คำนึงถึงการนำไปแสดงละครเป็นประการสำคัญ
รามเกียรติ์ รัชกาลที่ 2 มีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นบทละครในโดยตรง
รามเกียรติ์ปริทัศน์ ของ ชำนาญ
รอดเหตุภัย
ตัวอย่างการอธิบายด้วยวิธีชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน
“ เพราะสังคมนิยมส่งเสริมความสำราญ
ให้คุณค่าแก่วัตถุที่เป็นเครื่องอำนวยความสะดวก สังคมจึงเชิดชูความมั่งคั่งมากกว่าคุณธรรม
เงินจึงได้รับการบูชามากกว่าน้ำใจ ความแล้งน้ำใจครั้งนั้นเป็นเครื่องชี้แสดงถึงความแล้งน้ำใจในบ้านเมือง ซึ่งจะต้องรีบแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไป”
คุณค่าชีวิต ของ
ระวี ภาวิไล
ตัวอย่างการอธิบายด้วยวิธีให้นิยาม
“ ที่จริงแล้ว โขนก็คือละครรำชนิดหนึ่งนั่นเอง (ละครใน)
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493
อธิบายความหมายไว้ว่า โขน คือ
ละครชนิดหนึ่งซึ่งผู้เล่นสวมหน้ากากและหัวต่างๆที่เรียกว่า หัวโขน
ส่วนละครนั้นนิยามไว้ว่า คือการมหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็น โขนละครฟ้อนรำ ภาคพิเศษ ของ สุนันทา โสรัจจ์
การบรรยาย
ความหมาย หมายถึง
การเล่าเรื่องหรือประสบการณ์ของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจ
เหมือนกับผู้อ่านได้ประสบกับเหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง
วิธีการบรรยาย อาจทำได้หลายวิธี
โดยพิจารณาตามความเหมาะสมแก่เนื้อเรื่องหรือจุดประสงค์ของตน เช่น
1.
บรรยายให้ครบว่า ใคร ทำอะไร
ที่ไหน อย่างไร เพื่ออะไร
2.
บรรยายโดยเน้นเหตุการณ์ตามลำดับของเวลาที่เป็นจริง
3.
บรรยายโดยสลับเหตุการณ์ คือ
อาจจะเริ่มจากเหตุการณ์สุดท้ายของเรื่องแล้วย้อนกลับไปกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนต้น
หรืออาจสลับเปลี่ยนกันบ้างก็ได้
4.
เลือกเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญ ที่ส่งผลเกี่ยวเนื่องถึงเหตุการณ์อื่นๆมาบรรยาย
5.
เลือกใช้วิธีอื่นๆแทรกไว้ในการบรรยาย เช่น
แทรกบทพรรณนา หรือผูกเรื่องเป็นบทสนทนา โดยการตั้งคำถามให้คิด แล้วคลี่คลายเป็นคำตอบ
ตัวอย่างการบรรยาย
“ ผมเกิดที่บ้านสวน ธนบุรี
หน้าบ้านติดคลองวัดดอกไม้ไม่ไกลจากสถานีตำรวจบุปผารามปัจจุบันมากนัก
สถานีตำรวจแห่งนี้สร้างมาก่อนผมเกิด
แต่ไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เดิมเป็นเรือนไม้สูง
พื้นชั้นล่างลาดซีเมนต์ มีเรือนพักตำรวจเป็นเรือนแถวเก่าๆไม่กี่ห้อง
หน้าโรงพักมีถนนผ่านกลาง ฝั่งตรงข้ามคือวัดดอกไม้ ซึ่งเป็นศัพท์ชาวบ้าน
ภาษาราชการเรียกว่า วัดบุปผาราม ”
เด็กบ้านสวน ของ พ.เนตรรังษี
การพรรณนา
ความหมาย หมายถึง
การเรียบเรียงข้อความเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ประทับใจ
เกิดจินตนาการ คือ ทำให้เห็นภาพและมีความรู้สึกร่วมกับผู้เขียน
วิธีการพรรณนา มีหลายวิธี ดังนี้
1.
แยกส่วนประกอบสิ่งที่จะพรรณนา โดยชี้ให้เห็นว่า
แต่ละส่วนส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างไร
2.
ชี้ลักษณะเด่น
3.
การใช้ถ้อยคำ
ต้องเลือกสรรถ้อยคำที่เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ
เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์
ตัวอย่างการพรรณนา ด้วยวิธีชี้ลักษณะเด่น
“อ้อมผ่านไม้ใหญ่ขนาดสองโอบ
กองธงทั้งสี่พบเห็นพญาลอหมอบซุกอยู่กลางกอหญ้าเหลืองเกรียมหน้าแดงสดใสดังสีน้ำคร่ำ
ขนปีกเลื่อมระยับจับแดดเป็นสีเขียวก่ำแกมคราม แล้วทาทับด้วยทองแจ่มจนสว่างไสว
ขนหางอ่อนโค้งราวแกล้งดัด เหลือบแรรุ้งร่วง กลมกลืนอ่อนแก่ดูเรียวระหง
ขนอกอ่อนนุ่มดูนวลเนียนราวไม่เคยคลุกฝุ่นเผ้าละอองดิน”
หุบเขากินคน
ของ มาลา คำจันทร์
ตัวอย่างการพรรณนา
“ อันเทวาลัย ซึ่งมีผนังดำคร่ำด้วยความชรา ประหนึ่งว่า ยินดีรับเอาแสงแดดกำลังรอนๆจวนจะเลือนหายไปจากฟ้า เปรียบด้วย
ชายชราได้ดื่มน้ำทิพย์แล้ว กลับฟื้นคืนความกระชุ่มกระชวยขึ้น ฉะนั้นภายล่างแห่งแสงซึ่งเรืองรองดั่งทองทาประสมกับเงาไม้กลายเป็นสีม่วงแลดูเต้นระยับไปทุกแห่งหน
ถึงเวลาตอนนี้ที่ประชุมสงบเงียบยิ่งกว่าเก่า
เงียบจนดูเหมือนใบไม้ที่เคยไหวก็หยุดเงียบไปด้วย
" รัศมีมีเพียงเสียงดนตรี ประทีปทีฆรัสสะจังหวะโยน
ระเมียนไม้ใบโบกสุโนกเกาะ สุดเสนาะเสียงนกซึ่งผกโผน
โผต้นนั้นผันตนไปต้นโน้น จังหวะโจนส่งจับรับกันไป"
ระเมียนไม้ใบโบกสุโนกเกาะ สุดเสนาะเสียงนกซึ่งผกโผน
โผต้นนั้นผันตนไปต้นโน้น จังหวะโจนส่งจับรับกันไป"
ตัวอย่างการพรรณนา โดยการใช้ถ้อยคำ
สูงระหงทรงเพรียวเรียวรู งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋าพิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา ทั้งสองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตรีหักงอ ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังคุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม มันน่าเชยน่าชมนางเทวี"
[บทละคร เรื่องระเด่นลันได ของพระมหามนตรี(ทรัพย์)]